วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556




บันทึครั้งที่ 3 

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



เนื้อหาที่เรียน


> นิยามและทฤษฎีคณิตศาสตร์
>หลักการสอนคณิศาสตร์
> ขอบข่ายหรือเนื้อหา การสอนคณิตศาสตร์

กิจกรรม

 ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือคณิตศาสตร์ที่หามาและสรุปเป็นของกลุ่มตน
  
1.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
      คณิตศาสตร์เป็นความสามารถด้านสติปัญญา ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเต็มศักยภาพสูงสุดนั้น จึงยึดทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาเป็นแนวทางสู่การปฏิบัติ ดังนี้  เพียเจต์  (ชลลดาวัลย์ ตันมงคล. 2538 : 10, อ้างอิงมาจาก Piget.1962 : 74) สติปัญญาเป็นความสามารถในการคิด ความสามารถในการวางแผนและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ความสามารถดังกล่าวจะพัฒนาความคิดความเข้าใจในระดับง่าย ๆ ในวัยเด็กไปสู่ระดับที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ในวัยผู้ใหญ่คิมเบิล (อารี เพชรผุด. 2528 : 203 - 204 : อ้างอิงมาจาก Kimble.1961) กล่าวว่า สติปัญญาคือผลงานความสามารถ  5  อย่าง  คือ
1.) ความสามารถในการใช้กระบวนการที่เกี่ยวกับสัญลักษณ์ (Symbol)
2.) ความสามารถในการคิดหาเหตุผล (Reasoning Thinking)
3.) ความสามารถในการวางเป้าหมายในการกระทำ (Goal)
4.)ความสามารถในการปฏิบัติอย่างได้ผลต่อสิ่งแวดล้อม
5.) ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับตนเอง  อารี รังสินันท์ ( 2530 : 34 )  ได้ให้ความหมายของสติปัญญาว่า หมายถึงความสามารถทางสมองของบุคคลในการเรียนรู้ การคิดหาเหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ การปรับปรุงตัวเองต่อสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงตนในสังคมได้อย่างเป็นสุขโกวิท ประวาลพฤกษ์ และคนอื่น ๆ  (ม.ป.ป. : 77)  กล่าวว่า สติปัญญาคือความสามารถทางสมองทางด้านการรับรู้ การจำ การเข้าใจ การคิดอย่างมีเหตุผล การเข้าใจสิ่งซับซ้อน เข้าใจนามธรรม สามารถแก้ปัญหาที่ยาก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมที่เจริญเติบโตตามวัย แต่อีกส่วนหนึ่งสามารถส่งเสริมได้จากการเรียนรู้และฝึกหัดจากสิ่งแวดล้อมสรุปได้ว่า สติปัญญา หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคลที่แสดงออกเกี่ยวกับการคิด  ความจำ  การแก้ปัญหา  ความมีเหตุผล ความสัมพันธ์  ภาษา  ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็ก อีกทั้ง ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพความสามารถทางสติปัญญารวมถึงความสามารถทางคณิตศาสตร์ได้มาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ตามวัยของเด็ก


2.หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครู ปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของเด็ก การเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรที่ลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วย คือ
-สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
-เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง
-มีเป้าหมายและการวางแผนเป็นอย่างดี
-เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนการสอนและลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
-ใช้วิธีการรจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
-ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก-
รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
-ใช้วิธีการสอนแทรกกับชีวิตจริง
-ใช้วิธีสอนให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข
-วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
-บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสมำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง
-คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
-เน้นกระบวนการ

3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-การนับ
- ตัวเลข 

- การจับคู่
- การจัดประเภท
- การเปรียบเทียบ 

- การจัดลำดับ 
-รูปทรงและเนื้อที่ 
-การวัด
 - เซต
- เศษส่วน 

-การทำตามแบบหรือลวดลาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น