วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 15

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556





การเรียนการสอน 
1.อาจารย์ให้นักศึกษาทำบล็อกให้เรียบร้อย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการทำบล็อกให้สมบูรณ์ เช่น การหาวิจัยลงบล็อก โทรทัศน์ครู เป็นต้น
2.อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มมาเสนองานต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว



อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับสื่อ


หน่วยไข่จ๋า


หน่วยน้ำ






สรุปงานวิจัยคณิตศาสตร์ปฐมวัย
รื่องการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยการเล่านิทาน
ปริญญานิพนธ์ ของ ขวัญนุช บุญยู่ฮง


ความมุ่งหมายของการวิจัย
    เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต  ก่อนและหลังการทดลอง

ความสำคัญของการวิจัย
    ผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้  จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย  ได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยการบูรณาการคณิตศาสตร์  ในรูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน  เป็นต้น  รวมทั้งเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน  ให้มีความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  การเล่านิทาน
ตัวแปรตาม  ได้แก่  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ในด้านต่อไปนี้ 
1.)การนับ
2.)การรู้ค่าตัวเลข
3.)การจับคู่
4.)การจัดประเภท
5.)การเปรียบเทียบ
6.)การเรียงลำดับ

วิธีดำเนินการทดลอง
    การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545  ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน  วันละ 1 ครั้ง  ครั้งละ 15 นาที  ทำการทดลองเวลา 09.00 - 09.15 น. 
รวม 24 ครั้ง  มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.ขอความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
2.พบครูประจำชั้นของห้องที่ทำการทดลองเพื่อชี้แจงรูปแบบงานวิจัยและขอความร่วมมือ
3.สร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่าง  เป็นระยะเวลา 3 วัน  คือ  วันอังคาร  วันพุธ  วันพฤหัสบดี  วันละ 20 นาที
4.ก่อนทำการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบ (Pretest) กับเด็กทั้งห้อง  จากนั้นนำมาให้คะแนนเรียงลำดับคะแนนจากสูงที่สุดไปหาคะแนนต่ำที่สุด  เลือกคะแนนที่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ต่ำ 
จำนวน 15 คน  เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
5.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยการทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 15 นาที 
ในช่วงเวลา 09.00 - 09.15 น.  ของวันอังคาร  พุธ  พฤหัสบดี  จนสิ้นสุดการทดลอง  โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูประจำชั้น
6.เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์  ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่าง
7.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ     

อภิปรายผล
    จากการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรืของเด็กปฐมวัย  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต  ปรากฏว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต  มีทักษะพื้นฐานนทางคริตศาสตร์ด้านทักษะ  การนับ  การรู้ค่าตัวเลข  การจับคู่  การเปรียบเทียบ  การเรียงลำดับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และเมื่อพิจารณาในทุกทักษะแล้ว  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต  มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติระดับ .01   




บันทึกครั้งที่ 14

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การเรียนการสอน 

1.อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการจัดประสบการณ์ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว
ซึ่งได้นำเสนอ กลุ่มที่1.) หน่วยครอบครัวของเรา  กลุ่มที่2.)หน่วยผลไม้

2.อาจารย์ได้แนะนำ และให้ความรู้ในการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้องแก่นักศึกษา

กลุ่มที่ 3
หน่วยสัตว์

 



บันทึกครั้งที่ 14

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 

 

กระบวนการทำงานของสติปัญญา    
ความรู้เพิ่มเติม





อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มสาธิตการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
กลุ่มของดิฉันนำเสนอกลุ่มแรก
หน่วยครอบครัวของเรา
การสาธิตการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์


อาจารย์อธิบายการจัดประสบการณ์




กลุ่มที่สอง
หน่วย ผลไม






บันทึกครั้งที่ 13

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

การเรียนการสอน

การระดมความคิดของปฐมวัย

- นิทานเวที
- นิทรรศการสื่อ
- เล่นดนตรี
- ร้องเพลง
- เล่านิทาน
- เล่นเกม
- รำ
- งานศิลปะ
- เต้น
ความรู้ที่ได้รับ 
1.)สาระที่เราจะนำมาจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กควรเลือกเรื่องที่มีผลกระทบกับเด็กก่อนเรื่องไกล้ตัวในชีวิตประจำวัน
2.)ประสบการณ์(ลงมือกระทำ) สำคัญต่อการเรียนรู้
3.)เครื่องมือที่จะต่อยอดการเรียนรู้ต่อๆไปคือ ภาษา กับ คณิตศาสตร์
4.)วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือลงมือกระทำด้วยประสาทวัมผัสทั้ง 5 >>>เรียนรู้>>>เปลี่ยนแปลง 
การจัดประสบการณ์คณิตศาสต์ปฐมวัย
สาระที่ 5 การรวบรวมข้อมูล
>>หน่วยผลไม้







เพิ่มคำอธิบายภาพ

บันทึกครั้งที่ 12

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556


ความรู้ที่ได้รับ
-เด็กไม่ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จึงไม่เกิดกระบวนการคิด
-เด็กได้ลงมือกระทำจึงเกิดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 11

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

วันนี้เป็นวันครูแห่งชาติ  อาจารย์ให้เข้าไปร่วมกิจกรรมในห้องประชุมศูนย์ครู  ที่ตึกคณะศึกษาศาสตร์

หลังจากเสร็จกิจกรรมในห้องประชุม ก็มาแสดงความกตัญญูต่ออาจารย์ค่ะ



 


บันทึกครั้งที่ 10

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

การเรียนการสอน
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินกา
ครูควรเลือกเรื่องรอบตัวที่มีผลกระทบกับเด็ก เหมาะสมกับอายุ
มีกิจกรรมใดบ้างที่สามารถนำมาบูรณาการกับคณิตศาสตร์ได้
>>ที่โรงเรียน
1.)เช็คจำนวนนักเรียนที่มาเรียน โดยครูถามเด็กว่าวันนี้เด็กๆมากันกี่คน? (และครูก็อาจจะทำสื่อที่เป็นป้ายเช็คจำนวนเด็กที่มาเรียน และสื่อต้องสามารถยกได้ เพื่อจะทำให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการนับ)

ควรแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ และใช้ภาพแทนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย




2.)ทบทวนวันที่ โดยครูจะถามเด็กว่า เด็กๆรู้มั้ยว่าวันนี้วันที่เท่าไร? เด็กๆค่ะวันนี้สภาพอากาศเป็นอย่างไร? (การทำปฎิทินการมาเรียนแต่ละวันสำหรับเด็กปฐมวัย ควรมีสัญลักษณ์สภาพอากาศให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเลือกนำติดที่วันที่ด้วย)

สัญลักษณ์สภาพอากาศ




สาระที่ 2 การวัด
ครูให้เด็กช่วยกันนับว่าสภาพอากาศที่ท้องฟ้าแจ่มใสมีกี่วัน?  วันที่ฝนตกมีกี่วัน?  วันที่มีเมฆบ้างมีกี่วัน?
จากนั้นครูก็สร้างเป็นแผนภูมิแท่งอย่างง่ายให้เด็กได้เห็นถึงความแตกต่าง มากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน


งานที่ได้รับมอบหมายให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 5 คน
สร้างแผนการเรียนรู้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ปฐมวัยใน 1 สัปดาห์
โดยเลือกหน่วยการเรียนรู้จากสิ่งที่มีอยู่รอบตัว โดยอิงกับสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร








บันทึกครั้งที่ 9

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

 

ส่งงานที่อาจารย์มอบหมาย


เกมเก็บลูกโป่ง


บันทึกครั้งที่ 8

 วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555


เนื้อหาการเรียน

    

 -ไม่มีการเรียนการสอน

เนื่องจากสอบกลางภาค

 

 

 บันทึกครั้งที่ 7

 วันพุธที่ 19 ธันวาคม  พ.ศ. 2555

 

>>>อาจารย์ให้ส่งงานวงกลม<<<

วงกลม 3 ขนาด 3 สี

-สามารใช้วัสดุสิ่งอื่นทำวงกลมแทนกระดาษลังได้
ดังนั้นครูปฐมวัยจึงต้องเป็นผู้ที่สามารถคิดได้คล่องแคล่ว หลากหลายและสร้างสรรค์
-การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์จากกระดาษลังสามารถทำได้หลายอย่าง
เช่น การนับ การจัดกลุ่มขนาด/สี ที่สัมพันธกัน การเรียงลำดับ ตำแหน่ง ฯลฯ

 

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
-มาตรฐาน คือ เกณฑขั้นต่ำในการบ่งบอกถึงคุณภาพ เป็นเรื่องที่สำคัญ
-คณิตศาสตร์กับภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ 
 -ปัจจัยที่เด็กขาดความเชื่อมั่นคือครู เพราะครูไม่ให้เวลาเด็ก ไม่รู้จักรอคอย สมาธิสั้น ครูดุ ไม่รับฟัง ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล

-การนำสื่อมาใช้กับเด็กให้เหมาะสมกับวัย และพัฒนาการ
อายุ 
0-2 ปี ใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม (ของจริง)
2-4 ปี ใช้สื่อที่เป็นกึ่งนามธรรม (รูปภาพ)
4-6 ปี ใช้สื่อที่เป็นนามธรรม (สัญลักษณ)


งานที่ได้รับมอบหมาย 
   ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 3 คน หารูปที่่มีรูปทรงกลม  แล้ววาดลงกระดาษแข็ง ขนาดเท่ากับA4 เพื่อประดิษฐ์เป็นสื่อ


 

 

 


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555


เนื้อหาการเรียน

 #วิธีการสอนสื่อให้สอดคล้องกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์
#การนำสื่อวัสดุเหลือใช้มาจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
#เทคนิคการใช้สื่อและเทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ในด้านต่างๆ


กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน
 
อาจารย์ให้ส่งงานครั้งที่แล้วที่ให้จับคู่ช่วยการคิดสื่อการสอนและวิธีการสอนให้สอดคล้องกับขอบข่ายทั้ง12ข้อของคณิตศาสตร์

อาจารย์ให้ทำกิจกรรมดังนี้

1.ให้แต่ละคนเลือกของที่มีในกล่องซึ่งคือวัสดุเหลือใช้ไปคนละหนึ่งชิ้น

2.จับคู่กับเพื่อนและนำของมารวมกันคิดว่าจะสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กได้อย่างไรบ้าง

3.จับกลุ่มสิบคนสร้างผลงานจากวัสดุเหลือใช้

4.ทุกกลุ่มนำผลงานมารวมกันสร้างเป็นผลงานของห้อง

 
 
งานที่รับมอบหมาย
- ตัดกล่องกระดาษ
  เส้นผ่าศูนย์กลาง  1 นิ้ว /1.5 นิ้ว /2 นิ้ว  อย่างละ  3 สี  เขียว  เหลือง  ชมพู



                            

บันทึกครั้งที่ 5

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เนื้อหาการเรียน

            - หมายเหตุไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันพ่อแห่งชาติ
 
 
 
 เพลงในหลวงของแผ่นดิน
 

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556


บันทึกครั้งที่4

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


              
เนื้อหาที่เรียน
>>อาจารย์ได้ทบทวนเกี่ยวกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์ที่นักศึกษาเข้าใจว่ามีอะไรบ้าง
ซึ่งได้แก่ การจัดประเภท การเรียงลำดับ การจำแนก จับคู่ ตัวเลข รูปร่าง รูปทรง ปริมาตร พื้นที่ การวัด การแบ่งกลุ่ม ฯลฯ

>>จากนั้นอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับขอบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัยที่ถูกต้อง ที่นักศึกษาควรรู้เพื่อเป็นนำไปจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย ดังนี้

 
นิตยา ประพฤติกิจ 
1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 - 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
3. การจับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือ จากสั้นไปยาว
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรง และเนื้อที่จากการเล่มตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะรู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณการอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
9. เซต (Set) เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย  ๆ จากสิ่งรอบ  ๆ ตัว  มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม  เช่น  รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซต หรือห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 3 เซต คือ นักเรียน ครูประจำชั้น ครูช่วยสอน เป็นต้น
10. เศษส่วน  (Fraction)  ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม (The Whole Object) ให้เด็กเห็นก่อน มีการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบ ขึ้นไป ครูอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
   
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88) ได้ให้ความสำคัญของขอบข่ายคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย โดยนำเสนอเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่
     1.1 การจับคู่ 1 : 1
     1.2 การจับคู่สิ่งของ
     1.3 การรวมกลุ่ม
     1.4 กลุ่มที่เท่ากัน
     1.5 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3. ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1 = หนึ่ง 2 = สอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ
(Union / Operation sets)
5. สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6. ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดง
ถึงจำนวนปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง ต่ำ
7. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทาง
คณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน
8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ
รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
9. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มี
มิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว
10. สถิติและกราฟ  ได้แก่  การศึกษาจากการบันทึก  ทำแผนภูมิ  การเปรียบเทียบต่าง  ๆ 
นิตยาประพฤติกิจ (2541 : 17 - 19) กล่าวว่า ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะดังต่อไปนี้
1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการ
นับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 - 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้
เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
3. การจับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่
สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ
สิ่งต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์
ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น
จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือ จากสั้นไปยาว
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและ
เนื้อที่จากการเล่มตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะ
รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณการอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
9. เซต (Set) เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย  ๆ จากสิ่งรอบ  ๆ ตัว  มีการเชื่อมโยงกับ
สภาพรวม  เช่น  รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซต หรือห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 3 เซต คือ นักเรียน ครูประจำชั้น ครูช่วยสอน เป็นต้น
10. เศษส่วน  (Fraction)  ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม (The Whole Object) ให้เด็กเห็นก่อน มีการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบ
หรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบ ขึ้นไป ครู
อาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

งานที่ได้รับมอบหมาย
**อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่ทำงานส่ง โดยให้วิเคราะห์กิจกรรมจะจัดให้กับเด็กอย่าไร

ของอาจารย์นิตยา ประพฤติกิจ  ( 12 ข้อ )







บันทึครั้งที่ 3 

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



เนื้อหาที่เรียน


> นิยามและทฤษฎีคณิตศาสตร์
>หลักการสอนคณิศาสตร์
> ขอบข่ายหรือเนื้อหา การสอนคณิตศาสตร์

กิจกรรม

 ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือคณิตศาสตร์ที่หามาและสรุปเป็นของกลุ่มตน
  
1.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
      คณิตศาสตร์เป็นความสามารถด้านสติปัญญา ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเต็มศักยภาพสูงสุดนั้น จึงยึดทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาเป็นแนวทางสู่การปฏิบัติ ดังนี้  เพียเจต์  (ชลลดาวัลย์ ตันมงคล. 2538 : 10, อ้างอิงมาจาก Piget.1962 : 74) สติปัญญาเป็นความสามารถในการคิด ความสามารถในการวางแผนและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ความสามารถดังกล่าวจะพัฒนาความคิดความเข้าใจในระดับง่าย ๆ ในวัยเด็กไปสู่ระดับที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ในวัยผู้ใหญ่คิมเบิล (อารี เพชรผุด. 2528 : 203 - 204 : อ้างอิงมาจาก Kimble.1961) กล่าวว่า สติปัญญาคือผลงานความสามารถ  5  อย่าง  คือ
1.) ความสามารถในการใช้กระบวนการที่เกี่ยวกับสัญลักษณ์ (Symbol)
2.) ความสามารถในการคิดหาเหตุผล (Reasoning Thinking)
3.) ความสามารถในการวางเป้าหมายในการกระทำ (Goal)
4.)ความสามารถในการปฏิบัติอย่างได้ผลต่อสิ่งแวดล้อม
5.) ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับตนเอง  อารี รังสินันท์ ( 2530 : 34 )  ได้ให้ความหมายของสติปัญญาว่า หมายถึงความสามารถทางสมองของบุคคลในการเรียนรู้ การคิดหาเหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ การปรับปรุงตัวเองต่อสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงตนในสังคมได้อย่างเป็นสุขโกวิท ประวาลพฤกษ์ และคนอื่น ๆ  (ม.ป.ป. : 77)  กล่าวว่า สติปัญญาคือความสามารถทางสมองทางด้านการรับรู้ การจำ การเข้าใจ การคิดอย่างมีเหตุผล การเข้าใจสิ่งซับซ้อน เข้าใจนามธรรม สามารถแก้ปัญหาที่ยาก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมที่เจริญเติบโตตามวัย แต่อีกส่วนหนึ่งสามารถส่งเสริมได้จากการเรียนรู้และฝึกหัดจากสิ่งแวดล้อมสรุปได้ว่า สติปัญญา หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคลที่แสดงออกเกี่ยวกับการคิด  ความจำ  การแก้ปัญหา  ความมีเหตุผล ความสัมพันธ์  ภาษา  ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็ก อีกทั้ง ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพความสามารถทางสติปัญญารวมถึงความสามารถทางคณิตศาสตร์ได้มาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ตามวัยของเด็ก


2.หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครู ปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของเด็ก การเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรที่ลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วย คือ
-สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
-เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง
-มีเป้าหมายและการวางแผนเป็นอย่างดี
-เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนการสอนและลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
-ใช้วิธีการรจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
-ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก-
รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
-ใช้วิธีการสอนแทรกกับชีวิตจริง
-ใช้วิธีสอนให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข
-วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
-บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสมำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง
-คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
-เน้นกระบวนการ

3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
-การนับ
- ตัวเลข 

- การจับคู่
- การจัดประเภท
- การเปรียบเทียบ 

- การจัดลำดับ 
-รูปทรงและเนื้อที่ 
-การวัด
 - เซต
- เศษส่วน 

-การทำตามแบบหรือลวดลาย



บันทึกครั้งที่ 2

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

เนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอน

1.)อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนวาดภาพสัญลักษณ์ที่สามารถแสดงถึงตัวเอง พร้อมเขียนชื่อ-นามสกุลไว้ใต้ภาพ

 2.)อาจารย์ให้นักศึกษาที่มาก่อน 08.30 น. นำป้ายชื่อของตัวเองไปติดที่กระดาน หน้าเวลา /08.30 น.

3.)จากนั้นอาจารย์ก็สอนนักศึกษาว่าควรติดป้ายชื่อเป็นเลขฐานสิบ ควรนับจากซ้ายไปขวา และใช้เลขฮินดูอารบิกเขียนแทนค่าจำนวนที่ได้   เพื่อให้เด็กได้เกิดประสบการณ์พื้นฐานคณิตศาสตร์

4.)อาจารย์ได้สอนว่าการนับแบบการเพิ่มจำนวนเป็นพื้นฐานของการบวก (+)  อาจจะจัดประสบการณ์โดยนำป้ายชื่อมาติดทีละแผ่น
การนับแบบลดจำนวนเป็นพื้นฐานของการลบ (-)  อาจจัดประสบการณ์โดยพลิกป้ายชื่อกลับด้าน

>>>จากนั้นอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ปฐมวัย คำว่า มาก่อน มาหลัง รูปร่าง รูปทรง ขนาด จำนวน ลำดับ จัดหมวดหมู่  แถวและการนับ

งานที่ได้รับมอบหมาย

อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนไปหาหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่ห้องสมุด
โดยมีข้อแนะนำในการค้นคว้าดังนี้
-ความหมายของคณิตศาสตร์
-ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
-ขอบข่ายเนื้อหาสาระของคณิตศาสตร์
-หลักการสอนคณิตศาสตร์