วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 15

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556





การเรียนการสอน 
1.อาจารย์ให้นักศึกษาทำบล็อกให้เรียบร้อย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการทำบล็อกให้สมบูรณ์ เช่น การหาวิจัยลงบล็อก โทรทัศน์ครู เป็นต้น
2.อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มมาเสนองานต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว



อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับสื่อ


หน่วยไข่จ๋า


หน่วยน้ำ






สรุปงานวิจัยคณิตศาสตร์ปฐมวัย
รื่องการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยการเล่านิทาน
ปริญญานิพนธ์ ของ ขวัญนุช บุญยู่ฮง


ความมุ่งหมายของการวิจัย
    เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต  ก่อนและหลังการทดลอง

ความสำคัญของการวิจัย
    ผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้  จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย  ได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยการบูรณาการคณิตศาสตร์  ในรูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน  เป็นต้น  รวมทั้งเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน  ให้มีความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  การเล่านิทาน
ตัวแปรตาม  ได้แก่  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ในด้านต่อไปนี้ 
1.)การนับ
2.)การรู้ค่าตัวเลข
3.)การจับคู่
4.)การจัดประเภท
5.)การเปรียบเทียบ
6.)การเรียงลำดับ

วิธีดำเนินการทดลอง
    การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545  ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน  วันละ 1 ครั้ง  ครั้งละ 15 นาที  ทำการทดลองเวลา 09.00 - 09.15 น. 
รวม 24 ครั้ง  มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.ขอความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
2.พบครูประจำชั้นของห้องที่ทำการทดลองเพื่อชี้แจงรูปแบบงานวิจัยและขอความร่วมมือ
3.สร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่าง  เป็นระยะเวลา 3 วัน  คือ  วันอังคาร  วันพุธ  วันพฤหัสบดี  วันละ 20 นาที
4.ก่อนทำการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบ (Pretest) กับเด็กทั้งห้อง  จากนั้นนำมาให้คะแนนเรียงลำดับคะแนนจากสูงที่สุดไปหาคะแนนต่ำที่สุด  เลือกคะแนนที่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ต่ำ 
จำนวน 15 คน  เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
5.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยการทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 15 นาที 
ในช่วงเวลา 09.00 - 09.15 น.  ของวันอังคาร  พุธ  พฤหัสบดี  จนสิ้นสุดการทดลอง  โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูประจำชั้น
6.เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์  ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่าง
7.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ     

อภิปรายผล
    จากการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรืของเด็กปฐมวัย  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต  ปรากฏว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต  มีทักษะพื้นฐานนทางคริตศาสตร์ด้านทักษะ  การนับ  การรู้ค่าตัวเลข  การจับคู่  การเปรียบเทียบ  การเรียงลำดับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และเมื่อพิจารณาในทุกทักษะแล้ว  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต  มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติระดับ .01   




บันทึกครั้งที่ 14

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การเรียนการสอน 

1.อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการจัดประสบการณ์ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว
ซึ่งได้นำเสนอ กลุ่มที่1.) หน่วยครอบครัวของเรา  กลุ่มที่2.)หน่วยผลไม้

2.อาจารย์ได้แนะนำ และให้ความรู้ในการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้องแก่นักศึกษา

กลุ่มที่ 3
หน่วยสัตว์

 



บันทึกครั้งที่ 14

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 

 

กระบวนการทำงานของสติปัญญา    
ความรู้เพิ่มเติม





อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มสาธิตการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
กลุ่มของดิฉันนำเสนอกลุ่มแรก
หน่วยครอบครัวของเรา
การสาธิตการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์


อาจารย์อธิบายการจัดประสบการณ์




กลุ่มที่สอง
หน่วย ผลไม






บันทึกครั้งที่ 13

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

การเรียนการสอน

การระดมความคิดของปฐมวัย

- นิทานเวที
- นิทรรศการสื่อ
- เล่นดนตรี
- ร้องเพลง
- เล่านิทาน
- เล่นเกม
- รำ
- งานศิลปะ
- เต้น
ความรู้ที่ได้รับ 
1.)สาระที่เราจะนำมาจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กควรเลือกเรื่องที่มีผลกระทบกับเด็กก่อนเรื่องไกล้ตัวในชีวิตประจำวัน
2.)ประสบการณ์(ลงมือกระทำ) สำคัญต่อการเรียนรู้
3.)เครื่องมือที่จะต่อยอดการเรียนรู้ต่อๆไปคือ ภาษา กับ คณิตศาสตร์
4.)วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือลงมือกระทำด้วยประสาทวัมผัสทั้ง 5 >>>เรียนรู้>>>เปลี่ยนแปลง 
การจัดประสบการณ์คณิตศาสต์ปฐมวัย
สาระที่ 5 การรวบรวมข้อมูล
>>หน่วยผลไม้







เพิ่มคำอธิบายภาพ

บันทึกครั้งที่ 12

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556


ความรู้ที่ได้รับ
-เด็กไม่ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จึงไม่เกิดกระบวนการคิด
-เด็กได้ลงมือกระทำจึงเกิดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่ 11

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

วันนี้เป็นวันครูแห่งชาติ  อาจารย์ให้เข้าไปร่วมกิจกรรมในห้องประชุมศูนย์ครู  ที่ตึกคณะศึกษาศาสตร์

หลังจากเสร็จกิจกรรมในห้องประชุม ก็มาแสดงความกตัญญูต่ออาจารย์ค่ะ



 


บันทึกครั้งที่ 10

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

การเรียนการสอน
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินกา
ครูควรเลือกเรื่องรอบตัวที่มีผลกระทบกับเด็ก เหมาะสมกับอายุ
มีกิจกรรมใดบ้างที่สามารถนำมาบูรณาการกับคณิตศาสตร์ได้
>>ที่โรงเรียน
1.)เช็คจำนวนนักเรียนที่มาเรียน โดยครูถามเด็กว่าวันนี้เด็กๆมากันกี่คน? (และครูก็อาจจะทำสื่อที่เป็นป้ายเช็คจำนวนเด็กที่มาเรียน และสื่อต้องสามารถยกได้ เพื่อจะทำให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการนับ)

ควรแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ และใช้ภาพแทนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย




2.)ทบทวนวันที่ โดยครูจะถามเด็กว่า เด็กๆรู้มั้ยว่าวันนี้วันที่เท่าไร? เด็กๆค่ะวันนี้สภาพอากาศเป็นอย่างไร? (การทำปฎิทินการมาเรียนแต่ละวันสำหรับเด็กปฐมวัย ควรมีสัญลักษณ์สภาพอากาศให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเลือกนำติดที่วันที่ด้วย)

สัญลักษณ์สภาพอากาศ




สาระที่ 2 การวัด
ครูให้เด็กช่วยกันนับว่าสภาพอากาศที่ท้องฟ้าแจ่มใสมีกี่วัน?  วันที่ฝนตกมีกี่วัน?  วันที่มีเมฆบ้างมีกี่วัน?
จากนั้นครูก็สร้างเป็นแผนภูมิแท่งอย่างง่ายให้เด็กได้เห็นถึงความแตกต่าง มากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน


งานที่ได้รับมอบหมายให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 5 คน
สร้างแผนการเรียนรู้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ปฐมวัยใน 1 สัปดาห์
โดยเลือกหน่วยการเรียนรู้จากสิ่งที่มีอยู่รอบตัว โดยอิงกับสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร